ต้นโพธิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus
religiosa Linn.
วงศ์ : MORACEAE
ชื่อสามัญ : Sacred Fig Tree, Pipal Tree, Bodhi Tree, Bo Tree, Peepul
ชื่ออื่นๆ : โพ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง) สลี (ภาคเหนือ) ย่อง (ฉาน - แม่ฮ่องสอน)
ต้นโพธิ์: ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๓ เมตร มียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่รูปหัวใจ กว้าง ๘-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๑๒-๒๔ เซนติเมตร ปลายแหลมเป็นหางยาวโคนเว้ารูปหัวใจ ก้านใบยาว ๘-๑๒ เซนติเมตร ดอก สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อที่ซอกใบ แยกเพศขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล ผล เป็นผลรวมรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๘ เซนติเมตร เมื่อสุกสีม่วงดำ
นิเวศวิทยา: ถิ่นกำเนิด อินเดียถึงตะวันออกเฉียงใต้ปลูกได้ทั่วไป
ออกดอก : ตลอดปี
ขยายพันธุ์: เมล็ด
ประโยชน์ : เปลือกต้น ทำยาชงหรือยาต้ม แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อน แก้โรคผิวหนัง ผล เป็น ยาระบาย
วงศ์ : MORACEAE
ชื่อสามัญ : Sacred Fig Tree, Pipal Tree, Bodhi Tree, Bo Tree, Peepul
ชื่ออื่นๆ : โพ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง) สลี (ภาคเหนือ) ย่อง (ฉาน - แม่ฮ่องสอน)
ต้นโพธิ์: ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๓ เมตร มียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่รูปหัวใจ กว้าง ๘-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๑๒-๒๔ เซนติเมตร ปลายแหลมเป็นหางยาวโคนเว้ารูปหัวใจ ก้านใบยาว ๘-๑๒ เซนติเมตร ดอก สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อที่ซอกใบ แยกเพศขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล ผล เป็นผลรวมรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๘ เซนติเมตร เมื่อสุกสีม่วงดำ
นิเวศวิทยา: ถิ่นกำเนิด อินเดียถึงตะวันออกเฉียงใต้ปลูกได้ทั่วไป
ออกดอก : ตลอดปี
ขยายพันธุ์: เมล็ด
ประโยชน์ : เปลือกต้น ทำยาชงหรือยาต้ม แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อน แก้โรคผิวหนัง ผล เป็น ยาระบาย
หมายเหตุ : คำว่า “โพธิ” แต่เดิมแล้วมิได้เป็นชื่อต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง หากแต่เป็นชื่อเรียกของต้นไม้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงประทับใต้ต้นไม้ต้นนั้น ๆ และได้ตรัสรู้ ต้นโพธิ์ จึงมีความหมายว่า ต้นไม้แห่งการตรัสรู้ (โพธิ แปลว่า เป็นที่รู้หรือเป็นที่ตรัสรู้) และยังเป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธ พราหมณ์ และฮินดูให้ความเคารพนับถือกันอย่างสูงอีกด้วย
ลักษณะของต้นโพธิ์
- ต้นโพธิ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เมตร และมีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นเป็นพูพอนขนาดใหญ่ โดยจัดเป็นพรรณไม้ที่มีรูปทรงของลำต้นส่วนงามชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ใช้กิ่งชำ หรือใช้กระโดงจากราก แต่ส่วนมากแล้วจะเจริญเติบโตจากสัตว์นำพา เช่น นกมากินเมล็ดและไปถ่ายทิ้งไว้ ก็จะเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมา เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง พบขึ้นทั่วไปทั้งในทวีเอเชีย ปากีสถาน จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบในธรรมชาติน้อยมาก เข้าใจว่ากระจายพันธุ์มาจากต้นที่มีการนำมาปลูกเอง และพบขึ้นมากตามซากอาคาร และนิยมปลูกกันทั่วไปในวัดทุกภาคของประเทศไทย

- ต้นโพธิ์ เป็นไม้ที่มีอายุยืนยาวมากชนิดหนึ่ง แต่เนื่องจากมีกิ่งก้านแยกสาขาออกจากลำต้นมาก จึงทำให้เกิดเชื้อราที่อาศัยความชุ่มชื้นจากน้ำฝนที่ขังอยู่ตามง่ามไม้ แผ่ขยายเข้าทำลายเนื้อไม้จนเป็นโพรง ซึ่งเรามักจะพบเห็นได้ในต้นโพธิ์ที่มีขนาดใหญ่และมีอายุมาก แต่ถ้าเป็นโพรงอย่างรุนแรงก็อาจทำให้ต้นโพธิ์ตายได้เหมือนกัน

- ใบโพธิ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว (ปลายติ่งบางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของใบ) โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล ๆ ส่วนยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบยาวและอ่อน มีความยาวได้ประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อลมพัดจะเห็นจะเห็นใบโพธิ์พลิ้วไปตามต้นใหญ่ดูสวยงาม ส่วนปลีที่หุ้มส่วนยอดอ่อนอ่อนสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู

- ดอกโพธิ์ ออกดอกเป็นช่อกลม ๆ รวมกันเป็นกระจุกภายในฐานรองดอกรูปคล้ายผล โดยจะออกที่ตอนปลายของกิ่ง ดอกย่อยเป็นแบบแยกเพศ ไม่มีก้าน มีใบประดับเล็กที่โคน ฐานดอกเป็นรูปทรงกลม ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองนวล และจะเจริญไปเป็นผล

- ผลโพธิ์ ผลเป็นผลรวม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง สีแดงคล้ำ หรือม่วงดำและร่วงหล่นลงมา

หมายเหตุ : ต้นโพธิ์ในสกุล Ficus จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ โพธิใบ (Ficus religiosa Linn.) ซึ่งกล่าวถึงในบทความนี้ และโพธิขี้นกหรือโพธิประสาท (Ficus rumphii Bl.) ข้อแตกต่างของโพธิทั้ง 2 ชนิดนี้คือ ใบและผลของใบโพธิขี้นกจะมีขนาดเล็กกว่าใบโพธิใบมาก ส่วนผลสุกของโพธิใบจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีม่วงดำ ในขณะที่ผลสุกของโพธิขี้นกจะเป็นสีดำ
2. www.il.mahidol.ac.th
วิดิโอ
อ้างอิง
1. www.rspg.or.th2. www.il.mahidol.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น